วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเรียกชื่อสารประกอบ

ก่อนอื่น...เราต้องแยกให้ออกระหว่างสารประกอบอนินทรีย์และสารประกอบอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ประกอบด้วยคาร์บอน ปกติมักรวมกับธาตุต่างๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และซัลเฟอร์ ส่วนสารประกอบชนิดอื่นๆ จะถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ แต่ก็ยังมีสารประกอบที่มีคาร์บอนบางชนิดที่ถูกจัดเป็นสารประกอบอินทรีย์ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2) สารประกอบในกลุ่มของไซยาไนด์ (CN-) คาร์บอเนต (CO3 2-) และไบคาร์บอเนต (HCO3-)
สารประกอบอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.สารประกอบไอออนิก
2.สารประกอบโมเลกุล
3.กรดและเบส
4.ไฮเดรท

1.สารประกอบไอออนิก
ประกอบขึ้นด้วยไอออนบวกและไอออนลบ ยกเว้น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) ไอออนบวกทุกชนิดส่วนใหญ่มาจากอะตอมของโลหะ ซึ่งจะเรียกชื่อตามธาตุของโลหะนั้นๆ เช่น
     Na+     โซเดียมไอออน
     K-        โพแทสเซียมไอออน
     Mg2+   แมกนีเซียมไอออน
สารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบเชิงคู่ หรือเกิดจากธาตุสองธาตุ เรียกชื่อ ธาตุแรก เป็นโลหะไอออนบวก แล้วตามด้วยชื่อของโลหะไอออนลบ เช่น NaCl เรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ ส่วนของไอออนลบให้ชื่อตามส่วนแรกของชื่อธาตุ (Cl) คลอรีน แล้วเติม "-ไอด์" ต่อท้ายชื่อ ดังนี้
     KBr       อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์
     ZnI2      อ่านว่า ซิงค์ไอโอไดด์
     Al2O3   อ่านว่า อลูมิเนียมออกไซด์
โลหะทรานซิชันสามารถเกิดเป็นไอออนบวกได้มากกว่าหนึ่งชนิด เช่น เหล็ก เกิดได้สองไอออนบวกคือ Fe2+ และ Fe3+ จะเรียกชื่อโดยใช้คำลงท้ายว่า "-อัส" สำหรับไอออนที่มีประจุบวกน้อยกว่า และลงท้ายด้วย "-อิก" สำหรับไอออนบวกที่มีประจุบวกมากกว่า ดังนี้
     Fe2+     เฟอร์รัส ไอออน
     Fe3+     เฟอร์ริก ไอออน
ชื่อของสารประกอบไอออนของเหล็กที่เิกิดกับคลอรีนจะเรียกได้ว่า
     FeCl2     เฟอร์รัส คลอไรด์
     FeCl3     เฟอร์ริก คลอไรด์
ซึ่งวิธีการเรียกแบบนี้มีข้อจำกัด เพราะโลหะบางชนิดสามารถมีประจุบวกได้มากกว่าสองประจุ ดังนั้นจึงมีการเรียกชื่อด้วยตัวเลขโรมัน ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า ระบบสต๊อก เช่น
     Mn2+  : MnO        แมงกานีส (II) ออกไซด์
     Mn3+  : Mn2O3    แมงกานีส (III) ออกไซด์
     Mn4+  : MnO2      แมงกานีส (IV) ออกไซด์

--- ส่วนอีก 3 ประเภทที่เหลือ เราจะมาต่อกัน ในครั้งต่อไปนะคะ ...

ที่มา: Chemistry 9/e By Raymond Chang # 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น